โลหะหนักคืออะไร? เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?

โลหะหนักคืออะไร? เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร?
ตรวจหาโลหะหนักในร่างกาย โปรแกรมตรวจหาโลหะหนักในร่างกาย โลหะหนักคือ ธาตุที่มีน้ำหนักมากกว่าน้ำ 5 เท่า ความหนาแน่นเกินกว่า 5 กรัม เช่น สารปรอท สารตะกั่ว สารหนู สารแคทเมียม สารโคบอลต์ เป็นต้น สารเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายเราโดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะสารเหล่านี้ปนเปื้อนอยู่กับมลพิษ และ สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เช่น อาหารที่มีสารปนเปื้อน เช่น อาหารหมักดอง รวมไปถึงเครื่องสำอางค์ กระบวนการผลิตอาหาร วัตถุดิบที่มีสารเร่งการเจริญเติบโต สารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น สารโลหะหนักจึงเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษในร่างกาย สร้างปัญหาสุขภาพได้ตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงปัญหาสุขภาพเรื้อรังตามมาได้
โลหะหนักในร่ายกายส่งผลเสียอย่างไรบ้าง ?
หากมีการสะสมโลหะหนักในร่ายกายมาก โลหะหนักจะเข้าไปรบกวนการทำงานของเอ็นไซด์ในร่างกาย ทำให้เอ็นไซด์ทำงานผิดปกติ และ ยังรบกวนการทำงานของแร่ธาตุต่างๆในร่างกาย ทำให้ระบบร่างกายหยุดชะงักโลหะหนักเป็นสาเหตุของการเกิดอนุมูลอิสระ ทำให้หลอดเลือดอักเสบส่งผลให้หลอดเลือดแข็งและเกิดลิ่มเลือดอุดตันสารโลหะหนักส่งผลต่อการสร้างไนตริกออกไซด์ของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขาดความยืนหยุ่น และหดตัว เสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดตีบตัน และเมื่อเส้นเลือดตีบตัน ทำให้สารอาหารที่จะไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายน้อยลง เซลล์ในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพเร็วขึ้น เป็นที่มาของโรคต่างๆการเกิดโรคมะเร็ง เพราะสารโลหะหนักจะเข้าจับตัวโปรตีนของกรดนิวคลีอิกในร่างกายที่เป็นสารสังเคราะห์ DNA ทำให้ DNA ผิดปกติ ก่อให้เกิดเซลล์มะเร็งในร่างกาย
สารโลหะหนักที่อยู่ในร่างกายมีสารใดบ้าง ?
สารปรอท – สารปรอทพบได้ในสารอมัลกัลที่ใช้ในการอุดฟัน และยังพบสารสรอทปนเปื้อนในเครื่องสำอางค์และอาหารบางชนิด สารปรอทสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง เข้าสู่ร่ายกายได้ทั้งระบบทางเดินหายใจ การสัมผัสทางผิวหนัง และ ระบบทางเดินอาหาร การรับประทานอาหารที่มีสารปนเปื้อน อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยได้ เช่น การปวดท้องอย่างรุนแรง มีอาการเมื่อยตามร่างกาย ชา และ ความจำเสื่อมแคดเมียม – เป็นโลหะที่มีสีเงินแกมขาว สารชนิดนี้มักพบในแหล่งโรงงานอุตสาหกรรม สารแคดเมียมมักปนเปื้อนอยู่ในน้ำ อาหาร และ ยาสูบ หากเข้าสู่ร่างกายแล้ว ร่างกายจะดูดซึมในกระเพาะอาหารและแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นในร่างกาย เช่น ตับ ลำไส้ และม้าม หากร่างกายมีการสะสมของสารแคดเมียมมากจะก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และยังขัดขวางการสร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดโรคโลหิตจางตะกั่ว – ปัจจุบันพบสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ในเครื่องอุปโภคและบริโภค สารตะกั่วพบได้ในภาชนะที่ใช้ทำอาหาร เช่นหม้อก๋วยเตี๋ยว เมื่อร่างกายได้รับสารตะกั่วจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด โดย 90% ของสารตะกั่วจะสะสมอยู่ในกระดูก ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ปวดตามข้อ และ กระดูกหักง่าย อาการพิษเรื้อรังจากสารตะกั่วทำให้มีอาหารปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และส่งผลให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติ ตัวอสุจิอ่อนแอ และรังไข่ฝ่อง่าย เกิดภาวะเป็นหมัน เสี่ยงต่อการมีบุตรยากสารหนู – สามารถพบสารหนูได้ตามธรรมชาติใน ดิน น้ำ อากาศ สารหนูเป็นธาตุกึ่งโลหะ พบสารหนูจาการใช้ปุ๋ย สารกำจัดวัชพืช และการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือ ภาคเกษตรกรรม ทำให้พบสารหนูปนเปื้อนในวัตถุดิบที่ใช้ทำอาหาร สารหนูถูกจัดให้เป็นสารที่ก่อมะเร็ง หากร่างกายรับสารหนูไม่มาก ร่างกายจะขับสารหนูออกทางระบบขับถ่ายทางปัสสวะ แต่หากได้รับสารหนูมาเป็นเวลานาน และ เกิดการสะสมสารหนูในร่างกายที่มากเกินไป ส่งผลให้เป็นที่มาของโรคต่างๆ และก่อให้เกิดปัญหาทางระบบเส้นโลหิต ระบบประสาท ระบบเลือดเป็นต้น